ดื่มชาดำช่วยลดเบาหวาน




ในประเทศที่มีผู้ดื่มชาดำกันเป็นจำนวนมากจะมีคนป่วยเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 น้อยลง จากการศึกษาการวิเคราห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ทั้งหมด 50 ประเทศ การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Open

คณะนักวิจัยชาวสวิสจาก statistical firm Data Mining International analyzed health data from countries participating in the World Health Organization's World Health Survey พบความสัมพันธ์ระหว่างชาดำกับตัวชี้วัดสุขภาพที่สำคัญซึ่งประกอบไปด้วย โรคทางเดินหายใจ (respiratory diseases), โรคหลอดเลือดและหัวใจ (cardiovascular diseases), โรคติดเชื่อ (infectious diseases) และโรคเบาหวาน (diabetes) โดยพวกเขาพบความสัมพันธ์ที่สูงมากระหว่างการดื่มชาดำกับการลดลงของเบาหวาน แต่ไม่มีผลในการลดลงของความเสี่ยงของตัวชี้วัดสุขภาพอที่สำคัญตัวอื่น


จากตารางข้อมูลการบริโภคชาดำ ประเทศที่บริโภคมากที่สุดคือ ไอร์แลนด์ซึ่งผู้คนในประเทศนี้ดื่มชาดำมากกว่า 2 กิโลกรัมของใบชาต่อปี และประเทศที่บริโภคใกล้เคียงรองลงมาคือ สหราชอาณาจักร, ตุรกี, เกาหลีใต้, บราซิล, จีน, โมรอคโค และเม็กซิโก ตามลำดับ





ชากับโรคเบาหวานประเภทที่ 2
การวิจัยก่อนหน้านี้พบความสัมพันธ์ของชาเขียวกับคุณสมบัติต่อต้านอาการอักเสบที่ลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ สรรพคุณของชาเขียวนั้นมาจาก *ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า catechins และในชาดำประกอบไปด้วย ฟลาโวนอยด์ที่เรียกว่า theaflavins และ thearubigins ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มขึ้นมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา International Diabetes Federation รายงานว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ตัวเลขของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นจาก 285 ล้านคนเป็น 438 ล้านคนทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2573 ผู้ที่มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงจะเพิ่มขึ้น 900 ล้านคน และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นสองเท่า

ผลบวกในการศึกษานี้ยังเป็นในมุมมองของระดับประชากรไม่ใช่สำหรับตัวบุคคล แม้ว่าพวกเขาจะพบความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มชาดำกับการลดลงของเบาหวาน แต่พวกเขาก็ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลแน่ชัด


ที่มา: everydayhealth, foodnetworksolution*ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นสารประกอบฟินอลิก (phenolic compound) ประเภท โพลีฟีนอล (polyphenol) มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยทำหน้าที่ในการหน่วงเหนี่ยวหรือป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) จึงช่วยหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของ อนุมูลอิสระได้แหล่งอาหารที่พบ ฟลาโวนอยด์มาก ได้แก่ พืช ผักและผลไม้เช่น ยอถั่วเหลือง, กระชายดำ, สารสกัดจากเมล็ดองุ่น, รวมทั้งเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ชา, ไวน์ เป็นต้น

Author

Written by Admin

สนใจลงโฆษณาติดต่อ eimebox@gmail.com

ปรึกษาเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพได้ที่เพจ

Everyday I'm Exercising

0 ความคิดเห็น: