หลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่อไปนี้ จะช่วยให้จัดการสภาพร่างกายได้ดีขึ้น เราสามารถจัดการกับโรคเบาหวานได้ถ้าเราหมั่นใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยการไปพบแพทย์ประจำตัวคุณและ หลีกเลี่ยงพฤติกรรม 4 อย่างนี้
1. ดูโทรทัศน์
มีการศึกษาพบว่าการที่เราดูโทรทัศน์ 2 ชั่วโมงเป็นประจำจะทำให้เสี่ยงเป็น*โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์
2 .อดนอน
การอดนอนหรือนอนไม่พอสามารถทำให้คุณเกิดอาการเหงื่อออกกลางคืน (**Night sweats) ซึ่งทำให้อาการป่วยของคุณแย่ลงเพราะร่างกายคุณชื้นจากเหงื่อและ้คุณจะเหนื่อยหรือ เครียดซึ่งทำให้คุณอยากรับประทานน้ำตาลมากขึ้น
3. ไม่ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจวัดอินซูลินนั้นจะสามารถช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวานได้ดังนั้นคุณควรไปตรวจเลือดบ่อยๆ
4. อดอาหารเลยทำให้เกิดอาการโยโย่(***Yo-Yo Effect )
การที่น้ำหนักคุณขึ้นๆ ลงๆ เป็นเวลาหลายๆ ครั้งนั้นจะทำให้มีปัญหากับระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolism)
ที่มา: everydayhealth, JuSci, Haamor, YaHoo Answers
*โรคเบาหวาน (diabetes) มีสาเหตุจากการที่ฮอร์โมนที่นำน้ำตาลเข้าเซลล์ชื่ิอว่า insulin ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือมี insulin ไม่พอต่อการนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าไปใช้ในเซลล์ ทำให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดสูง (hyperglycemia) เจ้าน้ำตาลที่สูงนี่เองที่ทำให้เกิดปัญหาต่อส่วนต่างๆของร่างกายเรา เพราะน้ำตาลมันไปตามกระแสเลือด เลือดไปเลี้ยงถึงที่ไหนก็ก่อให้เกิดปัญหาได้ที่นั่น บางคนก็จะพูดกันว่า "เบาหวานขึ้นตา" , "เบาหวานลงไต" , เช่นนี้บางคงอาจจะเคยได้ยิน
เบาหวานแบ่งเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ได้ 2 แบบ คือ
1.type 1 diabetes เป็นกลุ่มที่สร้างฮอร์โมนไม่ได้ สัมพันธ์กับการที่ตับอ่อนถูกทำลาย เพราะตับอ่อนเป็นตัวสร้าง insulin นั่นเอง
2.type 2 diabetes เป็นกลุ่มที่สร้างฮอร์โมนได้ปกติ แต่ฮอร์โมนดันทำงานไม่ได้ จากการที่มีตัวรับฮอร์โมน (receptor) ทำงานไม่ดี คนกลุ่มนี้จึงมีฮอร์โมน insulin แต่ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ ซึ่ง type 2 นี้เป็นส่วนที่พบบ่อยกว่ามักเจอในคนอ้วน เป็นปัญหามากๆเลยในบ้านเรา เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตที่สะดวกสบายแบบชุมชนเมือง อาหารหาง่าย กำลังกายไม่ได้ออก เซลล์ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งทำให้ร่างกายดื้อต่อ insulin เราเรียกกันว่า ภาวะดื้อต่อ insulin (insulin resistance)
**เหงื่อออกกลางคืน (Night sweats) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค หมายถึง มีเหงื่อออกชุ่มตัวเกิดเฉพาะในช่วงกลางคืนทั้งๆที่อุณหภูมิห้องปกติ ทั้งนี้เกิดโดยไม่มีไข้
สาเหตุของเหงื่อออกกลางคืน อาจเกิดได้จากภาวะที่ไม่ใช่โรค หรือจากโรคต่างๆ
สาเหตุจากภาวะที่ไม่ใช่โรคที่พบบ่อย เช่น วัยหมดประจำเดือน (ในผู้หญิง) และผลข้างเคียงจากยาต่างๆ เช่น ยาลดน้ำตาลในเลือด (ยาโรคเบาหวาน) ยาคลายเครียดบางชนิด และยาฮอร์โมนต่างๆ โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ
***Yo-Yo Effect
คือการเรียกขานที่เปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่เกิดหลังการลดน้ำหนักกับการเล่นลูกดิ่งโย-โย่ เมื่อคนอ้วนที่พยายามลดความอ้วนจนกลายเป็นคนผอม แต่ผอมอยู่ได้ไม่นานก็กลับไปอ้วนอีกครั้ง ต้องเพียร พยายามลดกันให้ผอมลงใหม่ และพบว่าครั้งนี้ต้อง ใช้ความพยายามมากกว่าครั้งก่อนๆ เพราะว่าอ้วน เร็วขึ้น มิหนำซ้ำยังอ้วนมากกว่าเก่า เป็นอย่างนี้อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า เหมือนกับลูกดิ่งที่เมื่อปล่อยจากมือลงสู่พื้นแล้วก็จะม้วนตัวกลับมาสู่มือของเราอีก ยิ่งปล่อยลูกดิ่งออกไปแรงและไกลเท่าไร ลูกดิ่งก็จะกลับคืนสู่มือเร็วเท่านั้น
0 ความคิดเห็น: