สิ่งที่ช่วยให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้นอาจไม่ได้ส่งผลดีกับอวัยวะอื่นๆ เสมอไป ในการศึกษาล่าสุดพบว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 ( omega-3 fatty acids) มีส่วนทำให้ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบันน้ำมันปลาพบได้ในปลาแซลมอน ปลาเทราท์ และปลาทูน่า ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ หรือแม้แต่โรคอัลไซเมอร์ แต่ในความเป็นจริงมีการปรับปรุงแก้ไขล่าสุดจาก Dietary Guidelines for Americans ในปี 2010 ได้ให้คำแนะนำกับผู้ที่บริโภคน้ำมันปลา
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมที่นิยมมากของชาวอเมริกัน เนื่องจากประโยชน์ของน้ำมันปลาจะช่วยในเรื่องลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับของเอชดีแอลคลอเรสเตอรอล (HDL) อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด, ช่วยลดความดันโลหิต และประโยชน์ต่างๆ อีกมากมาย แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาใหม่จากนิตยสาร Journal of the National Cancer Institute ที่แสดงให้เห็นว่าไขมันจากปลานั้นอาจไม่ได้ทำให้ทุกคนสุขภาพดีเสมอไป ในการทดลองโดยการตรวจเลือดของผู้ที่มีโอเมก้า 3 ในเลือดเข้มข้นพบว่าความเสี่ยงในการเป็นมะเร็วต่อมลูกหมากสูงขึ้นถึง 43% กว่าผู้ที่มีระดับความเข้มข้นต่ำสุดในการทดลอง
ไม่เพียงแต่โอเมก้า 3 ที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่กรดไขมันอาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่ซับซ้อนมากกว่าที่คิด สารอาหารทั่วไปที่พบได้ในปลาจะช่วยต่อต้านการอักเสบ แต่พวกมันก็ทำให้เกิดการทำลายแบบ oxidative ต่อ DNA (oxidative damage) ในเซลล์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งคล้ายกับผลกระทบของความเครียดซึ่งเป็นผลให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้น
การศึกษาโดยการวัดระดับโอเมก้า 3 ในเลือดของผู้ชายที่เข้าร่วมโครงการ แต่ไม่มีข้อมูลเรื่องอาหารการกินของอาสาสมัคร ดังนั้นนักวิจัยจึงไม่สามารถแยกแยะระหว่างผลกระทบของกรดไขมันในปลาจากอาหารเสริมเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครส่วนใหญ่ไม่ได้ทานน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริม บนพื้นฐานของผลลัพธ์นักวิจัยกล่าวว่า ผู้ชายที่มีคนในครอบครัวของเขามีประวัติเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจทานน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริม เพื่อความปลอดภัยของพวกเขาเอง
ที่มา: Time Health & Family
0 ความคิดเห็น: